ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 3.137.187.233 : 20-04-24 12:03:02   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> เทรนด์โทรทัศน์ดิจิทัลในญี่ปุ่น - ฉลาดคิด

หัวข้อ : เทรนด์โทรทัศน์ดิจิทัลในญี่ปุ่น - ฉลาดคิด  
 
ปี ค.ศ. 2003 ประเทศญี่ปุ่นออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ โดยปัจจัยที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านประสบความสำเร็จคือ รัฐบาลสนับสนุนอุปกรณ์เปลี่ยนผ่านระบบดิจิทัล การสร้างศูนย์แนะนำเทคโนโลยีให้แก่ประชาชน ผู้พิการ และประชาสัมพันธ์ยุติออกอากาศระบบอะนาล็อกและก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัล ที่ล้วนมาจากการวางแผนตลอดระยะเวลา 10 กว่าปี

สถานีโทรทัศน์ประเทศญี่ปุ่นมีช่องฟรีทีวีจำนวน 7 ช่อง โดยแบ่งเป็นของภาครัฐ 2 ช่อง คือ ช่อง เอ็นเอชเค (General) และช่อง เอ็นเอชเค (Education) ส่วนเอกชนมี 5 ช่อง ได้แก่ นิปปอน เทเลวิชั่น ทีวีอาซาฮี โตเกียว บรอดแคสติ้ง ทีวีโตเกียว และฟูจิ เทเลวิชั่น ออกอากาศระบบดิจิทัล ในขณะที่ประเทศไทยมีช่องฟรีทีวี 6 ช่อง คือ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส ที่กำลังออกอากาศในระบบอะนาล็อก จะจัดสรรให้มีการประมูลช่องโทรทัศน์ดิจิทัล ซึ่งแตกต่างจากญี่ปุ่นที่ให้ใบอนุญาตแบบบิวตี้คอนเทนต์ หรือพิจารณาตามศักยภาพของผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ ประมาณเดือน พ.ค. 56 สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคของญี่ปุ่น เตรียมทดลองออกอากาศปล่อยเทคโนโลยีไฮบริด แคสต์ (Hybridcast) เป็นอินเทอร์เน็ตและโทรทัศน์ เพื่อกลุ่มผู้ใช้งานอุปกรณ์แท็บเล็ต โดยผู้รับชมสามารถชมรายการโทรทัศน์ตามปกติ ในขณะเดียวกันสามารถดูรายละเอียดของรายการนั้น ๆ ในโทรทัศน์ผ่านทางแท็บเล็ตได้ เช่น รายการกีฬาที่ออกอากาศผ่านโทรทัศน์ ก็ดูรายละเอียด ชื่อ น้ำหนัก สถิติที่เคยแข่งขัน หรือแม้กระทั่งดูย้อนหลังได้ผ่านทางแท็บเล็ตควบคู่กันไป

แตกต่างจาก สมาร์ท ทีวี ปัจจุบันที่รายการโทรทัศน์ และการใช้งานอินเทอร์เน็ตไปคนละทาง ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เมื่อเทียบกัน เทคโนโลยี “Hybridcast” ที่นำเอารายการโทรทัศน์และข้อมูลในเรื่องเดียวกันเพิ่มเข้าไป ซึ่งเมื่อมองแล้วสามารถตอบสนองความต้องการประชาชนเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้นที่ชื่นชอบรายละเอียดเนื้อหารายการ โดยเริ่มที่โตเกียวก่อนจะขยายไปยังเมืองต่าง ๆ ต่อไป

นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อการเตือนภัยพิบัติ อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ ซึ่งมีความรวดเร็วในการแจ้งเตือนแม้ว่าโทรทัศน์เครื่องที่ใช้ในบ้านจะอยู่ในโหมดปิดการใช้งาน ระบบจะแจ้งเตือนขึ้นมาทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ รวมถึงแจ้งเตือนภัยผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือที่มีตัวอะแดปเตอร์ติดในเครื่องที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น และแจ้งเตือนผ่านเนวิเกชั่นที่ติดในรถ ช่วยทำให้รับรู้ข่าวสารได้หลากหลายช่องทาง

ส่วนความสำเร็จอีกทางหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นคือ โมบาย ทีวี หรือดูทีวีผ่านโทรศัพท์มือถือของบริษัท น็อท ทีวี (NOT TV) ให้บริการ 3 ช่อง ได้แก่ ช่องข่าว ช่องวาไรตี้ และช่องถ่ายทอดรายการสด โดยคิดค่าบริการประมาณ 420 เยนต่อเดือน ผ่านอุปกรณ์แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนเป็นหลัก ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จะเริ่มวางแผนทำ โมบาย ทีวี เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น แต่แนวคิดของ กสท. คือ การให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัล 48 ช่องควบคู่กับใบอนุญาตทำโมบาย ทีวี ซึ่งจะทำให้ประชาชนรับชมผ่านโทรศัพท์มือถือได้เช่นเดียวกับโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายผ่านการใช้งานมือถือ และไม่ผลักภาระให้ประชาชน

อย่างไรก็ตามสถานีโทรทัศน์ประเทศญี่ปุ่นมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีมาก และที่สำคัญปัจจัยการเปลี่ยนผ่านไปยังระบบดิจิทัลก็มาจากความเอื้อหนุนและความร่วมมือของคนในชาติ จึงทำให้ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านระบบแม้ว่าจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศได้.

ที่มา : ขอขอบคุณ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  

http://www.adisorn.biz


2013-03-28 20:04:21 183.89.154.***
stat : 287 posts , 2 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.