ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 3.149.213.209 : 20-04-24 9:19:11   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> เที่ยว บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย

หัวข้อ : เที่ยว บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย  
 
สองนางศาลศักดิ์สิทธ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล

นี่คือคำขวัญของ บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย หลังเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้ง จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 และมีพิธีเปิดประตูเมืองบึงกาฬ หลังจากได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 23 มีนาคม 2554 ดังนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมเลยอาสาเป็นไกด์ พาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักและท่องเที่ยว จังหวัดบึงกาฬ กันซะหน่อย

จังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย อำเภอเมืองบึงกาฬ, อำเภอปากคาด, อำเภอโซ่พิสัย, อำเภอพรเจริญ, อำเภอ เซกา, อำเภอบึงโขงหลง, อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า และมีพื้นที่รอยต่อ ด้านทิศะวันออกติด กับจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตกติดกับหนองคาย ทิศใต้ติด กับสกลนคร และทิศเหนือติดกับ สปป.ลาว โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก ชื่อ นายสมพงษ์ อรุณโรจน์ปัญญา

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา และมีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง อีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงจะเป็นและแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการคมนาคมไปมาสะดวก

ความเป็นมา

แต่เดิม อำเภอบึงกาฬ มีชื่อเดิมว่า ไชยบุรี ซึ่งขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ.2482 ต่อมาในปี พ.ศ.2537 ได้มีการร้องขอให้จัดตั้งเป็น จังหวัดบึงกาฬ ตามข้อเสนอของ นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ, อำเภอปากคาด, อำเภอโซ่พิสัย, อำเภอพรเจริญ, อำเภอเซกา, อำเภอบึงโขงหลง, อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย แต่กระทรวงมหาดไทยยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะ อำเภอบึงกาฬ ขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี

กระทั่งวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วนพรรคกิจสังคม ได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และทางกระทรวงมหาดไทยเห็นด้วย กำลังอยู่ในกระบวนการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้ง จังหวัดบึงกาฬ ต่อไป และในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2553 คณะรัฐมนตรีก็มีมติให้ทำการจัดตั้ง จังหวัดบึงกาฬ ขึ้น จึงทำให้ อำเภอบึงกาฬ ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอเมืองบึงกาฬ

สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดบึงกาฬ ได้แก่...

บึงโขงหลง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาตินิเวศ และแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 8,064 ไร่ เมื่อปี พ.ศ 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครงการเก็บกักน้ำ เพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ดำเนินแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2523 และได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เมื่อปี พ.ศ. 2525 บึงโขงหลงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติอันดับที่ 1,098 ของโลก (Wetland of International Importance) ในปี พ.ศ. 2544 มีพื้นที่กว่า 22 ตารางกิโลเมตร ยาว 13 กิโลเมตร กว้าง 2 กิโลเมตร เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และพืชน้ำนานาชาติ เช่น นกน้ำกว่า 100 ชนิดที่หาดูได้ยาก มีปลาชนิดที่หาดูได้ยาก คือ ปลาบู่แคระ

หนองกุดทิง ห่างจากตัวเมืองบึงกาฬประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่เกือบ 20,000 ไร่ มีความหลากหลายทางชีวภาพประกอบด้วยสัตว์น้ำกว่า 250 สายพันธุ์ และเป็นที่อาศัยของนกอพยพและนกประจำถิ่นหลายชนิด ด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าว จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับโลก หรือแรมซาร์ไซท์ เป็นอันดับที่ 11 ของประเทศไทย

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ตั้งอยู่บ้านดอนจิก เลยอำเภอบุ่งคล้า 3 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 150-300 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำตกถ้ำฝุ่น อยู่ในบริเวณบ้านภูสวาท ตำบลหนองเดิ่น ตามทางหลวงหมายเลข 212 ก่อนถึงอำเภอบุ่งคล้า 7 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปน้ำตกประมาณ 4 กิโลเมตร รอบ ๆ เป็นป่าโปร่งที่มีทิวทัศน์สวยงามทางตอนเหนือของภูวัว ทางเดินไปน้ำตกผ่านลานหินทรายกว้างขวาง จนมาสุดทางที่น้ำตกที่ไหลมาจากหน้าผาหินทรายที่มีลักษณะ เป็นร่องแคบ มองเห็นสายน้ำตกมาเป็นทางยาว มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน, น้ำตกเจ็ดสี ตั้งอยู่บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา น้ำตกเจ็ดสีเป็นน้ำตกที่สวยงามมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เกิดจากธารน้ำของห้วยกะอามไหลมาตามหน้าผาหินทรายสูง และแผ่กว้างเป็นทางยาว สายน้ำตกกระทบหินเบื้องล่างเกิดเป็นละอองไอน้ำ ยามเมื่อกระทบกับแสงแดดทำให้ เกิดสีต่าง ๆ ขึ้น จึงเรียกว่า น้ำตกเจ็ดสี

ภูทอก ภูทอกในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว อยู่ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง เป็นภูเขาหินทรายโดดเด่นมองเห็นได้ แต่ไกล ประกอบด้วย ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย ช แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ

ตลาดนัดไทย-ลาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงตรงข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบริคำไชย ประเทศลาว เป็นตลาดนัดที่มีพ่อค้าแม่ค้าทั้งชาวไทยและชาวลาว เดินทางมาค้าขาย รวมทั้งจับจ่ายซื้อของ ไม่ว่าจะเป็น ทั้งพืชผัก อาหารแห้ง อาหารสดต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งมีเฉพาะวันอังคารและวันศุกร์

ภูทอกน้อย เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก โดยต้องเดินไปตามสะพานไม้เวียนวนรอบเขาสูงชันจนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธา จากเหล่าพระ เณร และชาวบ้าน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2512 ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปี บันไดที่ทอดขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้ เปรียบเสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำสัตบุรุษให้ พ้นโลกแห่งโลกียะสู่โลกแห่งโลกุตระ หรือโลกแห่งการหลุดพ้นด้วยความเพียร พยายามและมุ่งมั่น ภูทอกยังคงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของชุมชน ดังนั้น ผู้ที่มาเยือนสถานที่แห่งนี้ควรอยู่ในความสงบและเคารพสถานที่ บันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น แตกต่างกันดังนี้

ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 ซึ่งชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขา เตี้ย ๆ สลับกัน เรียกว่า ดงชมพู ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ บนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ๆ

ชั้นที่ 5 มีศาลาและกุฏิที่อาศัยของพระ ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลาย ถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็นลานกว้างหลายแห่ง มีหน้าผาชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทางเพียงแค่นี้ เพราะจากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สุดทางที่ชั้น 7 เป็นป่าไม้ร่มครึ้ม

การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 185 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอโพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 30 กิโลเมตร

วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่ที่บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอบึงกาฬ ริมแม่น้ำโขงติดกับแก่งอาฮง ห่างจากตัวอำเภอบึงกาฬ 21 กิโลเมตร บริเวณวัดกว้างขวางและสวยงาม ประดิษฐาน“พระพุทธคุวานันท์ศาสดา” หล่อด้วยทองเหลือง ลักษณะคล้ายกับพระพุทธชินราช สถานที่แห่งนี้ซึ่งมีเรื่องเล่าขาน เป็นตำนานเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา และบั้งไฟพญานาค

ศาลเจ้าแม่สองนาง ตั้งอยู่ที่ถนนศาลเจ้าแม่สองนาง ตำบลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ เป็นศาลศักดิ์สิทธิ์กลางเมืองบึงกาฬ เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาของประชาชนและคนทั่วไป

วัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่บริเวณลานหินเนินเขา ร่มรื่นด้วยต้นไม้และลำธารเล็ก ๆ ไหลผ่าน บริเวณใต้โขดหินใหญ่ประดิษฐานพระนอนให้ผู้คนสักการะบูชา บนโขดหินมีอุโบสถ ทรงระฆังคว่ำ หากขึ้นไปถึงด้านบนสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลจนถึงฝั่งลาว การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ถึงอำเภอปากคาด มีทางแยกขวาเข้าวัดไปอีก 500 เมตร

แก่งอาฮง ตั้งอยู่ที่บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอบึงกาฬ เป็นแก่งในแม่น้ำโขงบริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส ห่างจากตัวอำเภอบึงกาฬ 21 กิโลเมตร สามารถมองเห็นแก่งได้ในช่วงหน้าแล้งราวเดือนมีนาคม – พฤษภาคมของทุกปี แต่ในช่วงฤดูน้ำหลากกระแสน้ำจะไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่ เชื่อกันว่าบริเวณแก่งอาฮงเป็น สะดือแม่น้ำโขง หรือจุดลึกที่สุดของแม่น้ำโขง

หลวงพ่อพระใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไคร้ หมู่ที่ 5 ตำบลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูงประมาณ 2 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่อยู่คู่ชาวบึงกาฬมาตั้งแต่โบราณ ชาวบึงกาฬจัดงานสมโภชช่วงวันเพ็ญเดือน 3 และช่วงเทศกาลสงกรานต์

และนี่เป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยวเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราหยิบนำมาเสนอ จริง ๆ แล้ว จังหวัดบึงกาฬ ยังมีสถานที่เด็ด ๆ ดี ๆ สวย ๆ รอให้นักเดินทางไปสัมผัสอีกเพียบ เพราะฉะนั้น หากมีโอกาสอย่าลืมแวะไปทักทาย บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทยกันนะ

การเดินทาง

การเดินทางเข้าสู่จังหวัดบึงกาฬสามารถเดินทางได้หลายทาง ดังนี้…

รถยนต์ : จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ (ประมาณ 11 ชั่วโมง 4 นาที)

รถโดยสารประจำทาง : มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถปรับอากาศจาก...

บริษัทขนส่งจำกัด หรือ transport.co.th โทรศัพท์ 02 – 936 – 2841 – 48, 02 – 936 – 2852 – 66 ต่อ 442, 311

บริษัท แอร์อุดร จำกัด หรือ airudon.comze.com ได้นำรถที่มีมาตรฐาน ระดับ วี.ไอ.พี. มาให้บริการ โดยสำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 042 245 789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)

บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2 ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ

และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร และจากตัวจังหวัดอุดรธานีก็จะมีรถธรรมดาวิ่งมาจากสาย 224 อุดร-นครพนม หรือสาย 225 อุดร–นครพนม วิ่งผ่านทางจังหวัดสกลนคร ทุกวัน ดูรายละเอียดการเดินรถทัวร์ ทั่วประเทศได้ที่ rottourthai.com

รถไฟ : มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ – อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ railway.co.th และสถานีรถไฟหนองคาย โทรศัพท์ 0 4241 1592

เครื่องบิน : สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่...

บริษัทการบินไทย จำกัด ศูนย์สำรองที่นั่ง 023561111 หรือ thaiairways.co.th
สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทรศัพท์ 0 2515 9999 หรือ airasia.com
สายการบินนกแอร์ โทรศัพท์ 1318 หรือ 0 2900 9955 และ nokair.com

ที่มา กระปุก.คอม  

แสนดีเจริญรุ่งเรือง


2011-04-13 01:34:30 183.89.159.***
stat : 690 posts , 0 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.