ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 3.137.170.183 : 20-04-24 17:42:19   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> โรคกระเพาะ... เพราะอะไร?

หัวข้อ : โรคกระเพาะ... เพราะอะไร?  
 
เวลาพักกลางวันมาถึงแล้ว ครั้นจะชวนเพื่อน ๆ ร่วมงานไปกินข้าว ก็เหมือนกับไม่มีใครอยากลุก หันไปทางซ้าย หัวหน้าก็ขะมักเขม้นกับงานตรงหน้า ไม่กล้าเรียก หันทางขวาเพื่อนร่วมงานก็กำลังเครียดกับเอกสารสารพันบนโต๊ะ สรุปว่าไม่มีใครไปกินข้าวเลยหรอ? นี่หรือเปล่าที่ทำให้คนทั้ง 2 บ่นปวดท้อง ไม่ว่าจะก่อนกิน หรือหลังกิน

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ

ผู้ร้ายตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะคือ เชื้อโรค ที่ชื่อว่า เอช. ไพโลไร (Helicobacter pylori)* ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร มันจะอยู่ภายในกระเพาะอาหารของผู้ติดเชื้อไปตลอดชีวิต โดยจะอยู่บริเวณด้านล่างของกระเพาะอาหาร เชื้อนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในกระเพาะอาหาร ทำให้กรดถูกขับออกมามากขึ้น จนเกิดการอักเสบที่เยื่อบุกระเพาะ นำไป สู่การเกิดแผลเลือดออกในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนบนนั่นเอง

หมายเหตุ : *แบร์รี เจ มาร์แชลล์ แพทย์ด้านทางเดินอาหาร และเจ โรบิน วาร์เรน แพทย์ด้านพยาธิวิทยา ได้ค้นพบเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) และได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์

การป้องกันการเกิดโรคกระเพาะ

อันดับแรกเลยคือ ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ได้หมายความว่าต้องกินให้ครบ 3 มื้อ ถ้าปกติกินแค่ 2 มื้อ ก็ขอให้ตรงเวลาทั้งสองมื้อนั้น เช่น รับประทานอาหารตอนเช้า 9.00 น. กลางวัน 12.30 น. และตอนเย็น 16.00 น. ก็ควรที่จะตามนี้ทุกวัน หากหิวก่อนเวลา ให้ดื่มน้ำ หรือน้ำข้าวแทน ให้คิดว่ากระเพาะเหมือนแฟนคนหนึ่ง ถ้ามากินข้าวไม่ตรงเวลาก็อาจมีหงุดหงิดแสบร้อนได้จนถึงเป็นแผล!

อย่านอนดึก พอเรายิ่งดึกเราก็จะยิ่งหิว เพราะกรดถูกหลั่งออกมาในท้องมากเกินไป เราเลยหิว ถ้าหิวเมื่อไรก็ให้เข้านอนไปเลย อย่ากิน ดีออก! เป็นวิธีควบคุมน้ำหนักไปในตัวด้วย

เลี่ยงอาหาร มัน ที่ดูอร่อยลิ้น เพราะความมันจะอยู่ในกระเพาะได้นาน ทำให้น้ำย่อยมีโอกาสหลั่งออกมาท่วมท้นมากกว่าปกติ อาการปวดท้องก็จะตามมาติด ๆ รวมทั้งอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และสิ่งที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น น้ำอดลม ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ เป็นต้น

ที่สำคัญควรงดเหล้าและบุหรี่ เพราะมันมีส่วนกระตุ้นการหลั่งของกรดในท้องเช่นกัน ส่วนสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น วิ่งเหยาะ ๆ เดินเร็ว ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ เพื่อขจัดความเครียดที่ซึมซาบอยู่ทุกอณูของร่างกาย การล้างความเครียดเห็นท่าจะง่ายกว่าการไม่เครียดเยอะ!

โรคกระเพาะถามหาแล้ว จะรักษาอย่างไร... ไม่อยากกินยา

ใคร ๆ ก็คงไม่อยากไปหาหมอ หรือกินยาเป็นกำ การรักษาโรคกระเพาะก็ต้องเริ่มจากการกิน คือ ให้กินกล้วยแบบสุกแข็ง เช่น กล้วยหักมุก หรือกินกะหล่ำปลีปรุงสุกบ่อย ๆ เพราะกะหล่ำปลีมีสารที่ช่วยสมานแผลในกระเพาะ (ผลจากงานวิจัย Thaly H. A new therapy of peptic ulcer: The anti-ulcer factor of cabbage. Gaz Med Fr 1965; 72:1992-3) อย่ากินวิตามินที่เป็นกรดมากเกินไป อย่าง วิตามินซี เพราะอาจไประคายเยื่อกระเพาะอ่อน ๆ ได้ โดยเฉพาะเมื่อกินตอนก่อนนอน

กดจุดปรับการทำงานของกระเพาะและม้าม**

ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปที่จุดบริเวณใต้ขอบล่างของสะบ้าลงมา 4 นิ้วมือ และห่างจากสันหน้าแข้งมาทางด้านนอก 1 นิ้วมือ กดนวดจุดหนัก ๆ ด้วยหัวแม่มือ นาน 2 นาที นวดทั้ง 2 ขา ว่ากันว่า จุดนี้จะปรับการทำงานของกระเพาะอาหารและม้ามได้

ใช่ว่าคนที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารจะติดเชื้อ H.pylori กันทุกคน แต่ จากสถิติผู้ติดเชื้อ 60-70% ของประชากรทั้งประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อนี้ประมาณ 80-90% และกว่า 90% สามารถหายจากโรคนี้ได้อย่างถาวร แต่ถ้าแผลดังกล่าวไม่หาย และเชื้อนี้ยังไม่หายไป ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้

อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกคนใส่ใจดูแลสุขภาพ ระวังอย่าให้เกิดแผลในกระเพาะ หากเกิดแล้วต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการกินแบบธรรมชาติ หรือการกินยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร แต่หากปล่อยไว้เรื้อรัง มะเร็งวายร้ายตัวการใหญ่สุด อาจจะมาคุกคามคุณได้นะคะ

ที่มา กระปุก.คอม  

แสนดีเจริญรุ่งเรือง


2011-03-01 07:23:02 183.89.60.***
stat : 690 posts , 0 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.