ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 3.134.81.206 : 26-04-24 23:15:07   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> นั่งคายัคชมป่าชายเลน ลอดถ้ำเจ้าไหม

หัวข้อ : นั่งคายัคชมป่าชายเลน ลอดถ้ำเจ้าไหม  
 
ขึ้นเหนือ...ล่องใต้ มาเกือบทั่วเมืองไทยแล้ว คงมีนักเดินทางบางคนเบื่อกับสถานที่ท่องเที่ยวเดิม ๆ บรรยากาศจอแจไปด้วยผู้คน เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมขอแนะนำแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่ง ที่เหมาะสำหรับคนรักความสงบ แต่ชื่นชอบเสียงคลื่น สายลม ตื่นเต้นกับการผจญภัย ด้วยการพาเพื่อน ๆ ไปล่องเรือท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ณ อาณาจักรพะยูนฝูงสุดท้าย บ้านหาดยาวเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง สถานที่ที่เงียบสงบ แต่แฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์ อีกทั้งยังมีธรรมชาติของป่าชายเลน รอให้นักเดินทางไปสัมผัส

... ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า ทริปนี้จะเดินดุ่ย ๆ ไปเลยไม่ได้ ต้องดูดินฟ้าอากาศ ดูเมฆฝน ดูกระแสน้ำ ดูช่วงเวลา ฯลฯ วันที่เราไปสายฝนโปรยปรายลงมาเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เราก็ไม่หวั่นที่จะออกไปโลดแล่น เยี่ยมชมความสวยงามของป่าชายเลน เอาล่ะ...เมื่อพร้อมแล้วก็ไปตะลุยกันเลย

ทันทีที่มาถึง บ้านหาดยาวเจ้าไหม บรรยากาศวิถีชีวิตชาวประมงก็ลอยมากระทบสายตา กลิ่นอายความเค็มของน้ำทะเล ผสมผสานกับป่าไม้เขียวขจีบริเวณรอบ ๆ ทำให้ตื่นตา ภาพเรือประมงจอดเรียงรายอยู่เต็มพื้นที่ทำให้ตื่นใจ แต่แหม...ก่อนไปผจญภัยท้องมันร้อง! เราเลยแวะชิมอาหารขึ้นชื่อของที่นี่ นั่นก็คือ หอยชักตีน และอาหารทะลสด ๆ คลุกเคล้ากับ น้ำพริกกะปิ รสชาติเข้มข้นกันก่อน

อิ่มหนำสำราญแล้ว ก็ถึงเวลาเที่ยวซะที อะ ๆ ลืมบอกไปว่าทริปนี้เราได้ไกด์กิตติมศักดิ์ นั่นก็คือ พี่รัตนศักดิ์ นันตสินธุ์ และ พี่สุวิทย์ แสวงวิทย์ ประธานและรองประธานฯ กลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์บ้านหาดยาวเจ้าไหม พาลงเรือหางยาว ล่องไปตาม คลองเจ้าไหม ก่อนจะปล่อยเราไปเผชิญชะตากรรมพาย เรือคายัค เข้าสู่ คลองจระเข้ขาว ลอด ถ้ำเจ้าไหม เพื่อชมความงามของป่าชายเลนกันเอง เพราะการเข้าไปท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ คลองจระเข้ขาว ทำได้วิธีเดียวคือการพายเรือคายัคเท่านั้น

นั่งเรือกันมาเพลิน ๆ สายตาก็ไปปะทะกับภูเขาหน้าตาประหลาด พี่สุวิทย์ บอกว่าชื่อ เขาโตะเนะ นั่นแสดงว่าใกล้ถึงเวลาที่เราจะได้พายเรือออกกำลังแขนกันแล้ว ซึ่งใช้เวลาไม่นาน เราก็เดินทางมาถึง คลองจระเข้ขาว คลองสาขาย่อยของ คลองเจ้าไหม ตลอดแนวสองฟากฝั่ง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นโกงกาง และสัตว์น้ำ สัตว์บก

เราอาศัยเจ้าคายัคสีฟ้าสดเป็นพาหนะนำเที่ยว โดยมีกัปตันท้องถิ่น บังถึก คอยพายเรือนำทาง พร้อมบอกเล่าเรื่องราว ชี้ชวนให้ชมเขียวขจีของธรรมชาติ รวมถึงดูความน่ารักของลิงแสมตัวจ้อย ที่นั่งแอ็คท่ารอต้อนรับ เมื่อพายเรือคายัคไปเรื่อย ๆ ก็จะพบกับทัศนียภาพสวยงามของผาหินปูน และ หินย้อย รูปร่างหน้าตาคล้ายไดโนเสาร์ ก่อนที่ บังถึก จะพาเราลอด ถ้ำเจ้าไหม (ช่วงน้ำขึ้นไม่สามารถพายเรือเข้าไปในถ้ำได้ เนื่องจากน้ำจะขึ้นปิดปากถ้ำ)

ภายในถ้ำมีหินย้อยและโพรงถ้ำ ความมืดของถ้ำอาจทำให้ เกิดความวิตกกังวลเล็ก ๆ เพราะบางช่วงบางตอนเราต้องก้ม ต้องนอนราบลงบนลำเรือ แต่เมื่อได้ลอดไปอีกฝั่งหนึ่ง เราจะพบกับ ลากูน หรือ เนินโคลน (Tidal Lagoon) ผืนกว้างใหญ่ แวดล้อมไปด้วยต้นโกงกาง พรรณไม้ชายเลน และหน้าผาหินปูน ที่นี่เรายังได้เห็น ปลาตีน ลื่นไถลไปบนพื้นเลนอย่างน่าชัง

ล่องเรือออกจาก คลองจระเข้ขาว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องไปชมคือ ความน่ารักของ พะยูน เพราะบริเวณหาดเจ้าไหม ถือเป็นสถานที่สุดท้ายในประเทศไทยที่พบว่ามี พะยูน อาศัยอยู่ประมาณ 100 ตัวเท่านั้น และท้ายที่สุดเราปิดทริปนี้ด้วยความน่ารักของชาวบ้านหาดยาวเจ้าไหม ด้วยการร่วมแรงร่วมใจปลูกต้นไม้ พร้อมกับฝากให้เกลอ (เพื่อน) ช่วยดูแล เพื่อกลับมาเยือนอีกครั้ง ในวันที่ต้นไม้เติบโต แต่ถ้าใครอยากดื่มด่ำกับวิถีชีวิตของคนที่นี่ ก็มีโฮมสเตย์ไว้คอยบริการนะจ๊ะ

ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตรัง โทรศัพท์ 075-215867, 075-211085, 075-211058 หรือ 1672 Email : tattrang@tat.or.th และ พี่รัตนศักดิ์ นันตสินธุ์ ประธานกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์บ้านหาดยาวเจ้าไหม โทรศัพท์ 08 7622 9700

ที่มา กระปุก.คอม  

แสนดีเจริญรุ่งเรือง


2010-12-25 12:03:10 183.89.25.**
stat : 690 posts , 0 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.