ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 18.217.203.172 : 26-04-24 21:52:37   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> กลุ่มอาการเครียดจากการเมือง

หัวข้อ : กลุ่มอาการเครียดจากการเมือง  
 
กลุ่มอาการเครียดจากการเมือง ( Political Stress Syndrome : PSS ) ไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิต แต่เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีความสนใจปัญหาทางการเมือง ติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด หรือเอนเอียงไปทางกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และกระทบต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น ที่สำคัญคือความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล หรือกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต (anticipatory anxiety) เช่น

กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเฉกเช่นอุบัติการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นพฤษภาทมิฬ มหาวิปโยคสิบสี่ตุลาหนึ่งหก (14 ต.ค 2516) เหตุการณ์รุนแรงในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นความหวั่นวิตกที่แฝงอยู่ในใจคนส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะที่คลั่งไคล้การเมือง คอยติดตามข่าวสาร และได้รับข้อมูลการวิเคราะห์เจาะลึกอยู่เนือง ๆ ทั้งข้อมูลที่ผ่านและไม่ผ่านการกลั่นกรองอุบัติการณ์

จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า 1ใน 4 ของประชากรเป็นอย่างน้อยในขณะนี้ มีปัญหาสุขภาพจิตจนเกิดอาการเครียด อันเนื่องมาจากปัญหาความวุ่นวาย การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และความรุนแรงที่เกิดขึ้นทางสังคมและการเมืองในปี พ.ศ.2551 โดยบุคคลที่มีความเสี่ยงกับปัญหาสุขภาพจิตชนิดนี้ได้แก่ กลุ่มนักการเมือง กลุ่มสนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย กลุ่มผู้ติดตาม กลุ่มผู้สนใจข่าวสารการเมือง และกลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต

ลักษณะกลุ่มอาการ ประกอบด้วย

1.อาการทางกาย ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ หรือตามแขนขา นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้อง ปวดท้อง อึดอัดในช่องท้อง ชาตามร่างกาย

2.อาการทางใจ ได้แก่ อาการวิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป

3.ปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้แก่ การโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัวโดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลาง ถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ มีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อตอบโต้ มีการเอาชนะทางความคิดกับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีมาก่อนจนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพอย่างรุนแรง

หากมีอาการเหล่านี้ในทั้ง 3 กลุ่มอาการ แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

1.หันเหความสนใจไปเรื่องอื่น

2.ลดความสำคัญของปัญหาลงมาชั่วขณะ ให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน ตามหลักอื่น ๆ บ้าง

3.หาทางระบายออกโดยเลือกผู้ที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน

4.ออกกำลังกายและพักผ่อน

5.ฝึกวิชาผ่อนคลายตัวเอง เช่น ฝึกสติและสมาธิ ฝึกโยคะ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น การกำหนด ลมหายใจเข้า - ออก

6.หันหาวิธีการที่ทำให้สงบ อาจจะใช้ศาสนามาช่วยขัดเกลาจิตใจ เพื่อปล่อยวาง

ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปได้เอง เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง หรือละความสนใจในเรื่องอื่นบ้าง หากมีอาการทั้งหมดเกินกว่า 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหรือจิตแพทย์

สำหรับประชาชนทั่วไป จิตแพทย์แนะนำว่าไม่ควรบริโภคข่าวสารเกินกว่า 40 นาทีต่อวัน เพราะจะทำให้เกิดภาวะความกดดัน เกิดความเครียดสะสมอย่างต่อเนื่อง เมื่อดูข่าวการเมืองแล้วควรหันไปดูรายการอื่น ๆ สารคดี ละคร ที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์เพื่อให้สภาวะอารมณ์คงที่ คนที่ดูข่าวสารความรุนแรงวันละ 24 ชั่วโมงจะทำให้สมองถูกล้าง และ ทำให้เกิดความเคียดแค้น วิตกกังวล ตลอดจนฮึกเหิม ก้าวร้าวรุนแรง ทำให้มีอาการทางจิตเกิดขึ้นได้ง่าย

นอกจากนี้ผู้ปกครองไม่ควรจะให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับภาพข่าวทางการเมืองโดยเฉพาะเหตุการณ์รุนแรงจากการปะทะที่เกิดขึ้น เพราะยังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เข้าสู่วัยรุ่นสภาพจิตใจอ่อนไหวง่าย ดังนั้นเมื่อเด็กเห็นภาพต่าง ๆ ก็จะจดจำเก็บไว้เป็นประสบการณ์ฝังใจ จนกลายเป็นเด็กก้าวร้าวและมีความรุนแรงทางอารมณ์ในอนาคต

ที่มา กระปุก.คอม  

แสนดีเจริญรุ่งเรือง


2010-11-26 09:11:20 183.89.34.***
stat : 690 posts , 0 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.