ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 3.146.105.194 : 24-04-24 18:49:42   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

หัวข้อ : เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์  
 
คุณแม่เมื่อมา ฝากท้องคงจะสงสัยว่า ทำไมจึงต้องมีการทดสอบภาวะเบาหวานซ่อนเร้นโดยการกลืนน้ำตาล ทั้งนี้เนื่องจากในสตรีตั้งครรภ์ รกจะสร้างฮอร์โมนบางชนิด ที่มีฤทธิต่อต้านฮอร์โมนอินสุลินที่คอยคุมระดับ น้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าสภาวะนี้ไม่ได้รับการควบคุม จะทำให้มีผลกระทบต่อทั้งตัวมารดาและทารกในครรภ์ได้

มารดา ในผู้เป็นแม่สภาวะเบาหวานจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์พิษ เกิดภาวะเสื่อมของระบบหลอดเลือด ตา ไต และปลายประสาทเกิดความดันโลหิตสูง ติดเชื้อง่ายโดยเฉพาะระบบทางเดินปัสสาวะ

ทารกในครรภ์ ระดับน้ำตาลที่สูงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์ ทำให้ทารกจะมีร่างกายโตใหญ่กว่าปกติ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการคลอดจนอาจได้รับอันตรายขณะคลอด อาจเกิดการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ทารกตายในครรภ์

ทารกหลังคลอด ระบบการหายใจของเด็กทารกจะมีปัญหาในการพัฒนาที่ช้ากว่าปกติ อาจไม่สามารถหายใจได้เองเมื่อแรกคลอด พบภาวะเหลืองหลังคลอดมากกว่าทารกทั่วไป นอกจากนี้อาจพบระดับน้ำตาลในเลือดทารกจะต่ำ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลต่อการทำงานของสมอง

ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ทั้งก่อนและตลอดการตั้ง ครรภ์

เบาหวานในสตรีตั้งครรภ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

1. เบาหวานที่พบก่อนการตั้งครรภ์ ในกรณีนี้ หมายถึง ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอยู่ก่อน แล้วตั้งครรภ์ภายหลัง การดูแลรักษาผู้ป่วย จะยึดหลักการเดียวกันกับการดูแลรักษาเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ นั่นคือ การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ซึ่งถ้าผู้ป่วยปฏิบัติครบถ้วนแล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดในสตรีตั้งครรภ์นั้น ต้องใช้วิธีฉีดอินซูลินเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรักษาโดยการใช้ยารับประทานได้ เนื่องจากยารับประทาน อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กในครรภ์ ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาเบาหวาน โดยยารับประทานก็มีความจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินชั่วคราว

ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานที่มีความประสงค์จะตั้งครรภ์ ควรมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อให้มีการควบคุมดูแลอย่างดีที่สุด ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานจากทุกฝ่าย ทั้งตัวผู้ป่วยเอง ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์จากหลายสาขา ซึ่งประกอบด้วย อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ นักโภชนาการ และพยาบาล

2. เบาหวานที่พบขณะตั้งครรภ์ สตรีที่ตั้งครรภ์ มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ ทั้งนี้เนื่องจากในสตรีตั้งครรภ์ รกจะสร้างฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เบาหวานในสตรีตั้งครรภ์มักจะพบในไตรมาสที่สองหรือสาม ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมน HCG ในเลือดสูงสุด ดังนั้นในสตรีกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานทุกราย สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และระดับน้ำตาลไม่สูงมาก เมื่อคลอดบุตรแล้วสภาวะโรคมักหายไป ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติปราศจากเบาหวาน

สตรีที่มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นเบาหวาน

อายุมากกว่า 30 ปี

น้ำหนักมาก

มีประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดที่ผิดปกติ เช่น แท้ง คลอดก่อนกำหนด ตายคลอด ทารกตายในครรภ์ เคยมีประวัติคลอดทารกหนักเกิน 4,000 กรัม ตั้งครรภ์เป็นพิษ

มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

ควรตรวจคัดกรองเบาหวานเมื่อใดในสตรีตั้งครรภ์?

การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคเบาหวานในสตรีมีครรภ์ จะเริ่มทำเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ หรือเริ่มตรวจเลยเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกในสตรีที่มีอัตราเสี่ยงสูง โดยให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง หากพบว่าระดับน้ำตาลเท่ากับหรือมากกว่า 140 มก./ดล. บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวาน ต้องทำการทดสอบอย่างละเอียดต่อไป

ที่มา กระปุก.คอม  

แสนดีเจริญรุ่งเรือง


2010-09-26 04:46:55 27.130.49.***
stat : 690 posts , 0 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.