ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 52.14.121.242 : 20-04-24 2:32:41   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> การปีนหน้าผาและโรยตัว

หัวข้อ : การปีนหน้าผาและโรยตัว  
 
การปีนหน้าผาและโรยตัว

กิจกรรมการปีนหน้าผา เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพราะถือว่าเป็นการท่องเที่ยว ที่เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด โดยไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ไม่ก่อมลภาวะหรือความเสียหายแก่ สถานที่ใด ๆ ทั้งสิ้น

นอกจากความเพลิดเพลินแล้ว การปีนหน้าผายังเป็นกีฬาอย่างหนึ่งด้วย เพราะร่างกายได้เคลื่อนไหวและออกแรงใน การพยายามที่จะไปให้ถึงจุดสูงสุดที่ตั้งใจเอาไว้ แต่การปีนหน้าผาใช่แต่จะใช้กำลังและความคล่องตัวเพียงเท่านั้น

ยังรวม ถึงการมีสมาธิและความมั่นคงในการที่จะผ่านชะง่อนหินและด่านต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยธรรมชาติ นอกจากนั้นการตัดสิน ใจที่รอบคอบ ประสบการณ์และความชำนาญก็มีส่วนสำคัญ เพราะการผิดพลาดบางครั้งอาจจะเกิดอาการบาดเจ็บและเป็น อันตราย

การปีนหน้าผานั้นอาจจะดูคล้ายการปีนเขาก็จริง แต่มีอันตรายน้อยกว่ามาก โดยบริษัทนำเที่ยวจะมีการทำเครื่องหมาย หรือเครื่องยึด ทำให้สะดวกและง่ายต่อการปีน มีผู้ควบคุมเชือก หรือบีเลเยอร์ (Belayer) ช่วยดึงและแนะนำการปีนอยู่ที่ พื้นด้านล่าง และจะมีการฝึกสอนให้รู้จักเทคนิค อุปกรณ์ และทดลองปีนกับหน้าผาจำลองก่อน

ในระยะแรก ๆ กลุ่มนักปีนหน้าผาส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเฉพาะ ที่กระบี่ได้รับการกล่าวขานถึงความสวยงามของสถานที่และความซับซ้อนของหน้าผา ในขณะที่คนไทยยังมองว่าการปีน หน้าผาเป็นกิจกรรมที่อันตราย แต่ในปัจจุบันหลังจากที่กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ชาวไทย ก็มีการแสวงหาการท่องเที่ยวแบบใหม่ ๆ ที่เน้นการผจญภัย และความตื่นเต้น เช่น การล่องแก่ง ดำน้ำ ขี่จักรยาน เสือภูเขา และกิจกรรมการปีนหน้าผา ทำให้ปริมาณผู้สนใจ และบริษัทนำเที่ยวที่จัดกิจกรรมในลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น

อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนหน้าผาเบื้องต้น

อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนผาเบื้องต้นแบบ Top Roping มีดังนี้
ฮาร์เนส (Harness) หรือสายรัดสะโพก ลักษณะเป็นห่วงส่วนเอวและส่วนขา ซึ่งถูกโยงไว้ด้วยกันโดยสายในล่อนทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 2 ตัน

คาราไบเนอร์ (Carabiner) เป็นห่วงเหล็กหรืออะลูมิเนียม อัลลอย (อย่างหลังนิยมกว่าเพราะน้ำหนักน้อยกว่า) สามารถ รับแรงดึงได้ 2 ตัน หลายรูปร่างและขนาด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มี 2 ประเภทหลักคือ แบบมีตัวล็อก (Screwgate Carabiner) และแบบไม่มีตัวล็อก (Snap Carabiner) สำหรับตัวที่ใช้เกี่ยวกับห่วงฮาร์เนสทุกตัวต้องมีตัวล็อกเสมอ

ควิกดรอว์ (Quickdraw) คือสายไนลอนสั้น ๆ ซึ่งมีคาราไบเนอร์เกี่ยวอยู่ตรงปลายทั้ง 2 ข้าง ใช้สำหรับเกี่ยวกับหมุด ตามหน้าผา ป้องกันการตกจากที่สูงทีเดียวถึงพื้น

อุปกรณ์บีเลย์ (Belay Device) ใช้สำหรับผ่อนเชือกให้นักปีนผาและควบคุมความเร็วในการโรยตัว มีชื่อเรียกแตก ต่างกันไปตามรุ่นที่ผลิต เช่น Grigri, Figure of Eight, ATC

รองเท้าปีนผา จะมีพื้นเรียบ ไม่มีดอกยาง หัวรองเท้าแคบเพื่อให้สอดเท้าเข้าไปบนช่องหินได้สะดวก เมื่อสวมแล้วต้อง รู้สึกว่าคับแน่นจึงจะเหมาะกับการปีนหน้าผา แมกนีเซียม คาร์บอเนต หรือ ผงชอล็ก เป็นผงคล้ายแป้ง ใส่ถุงผ้า ห้อยไว้ด้านหลังของนักปีนผา ใช้สำหรับลดความชื้น ที่มือเพื่อความถนัดในการเกาะเกี่ยว

เชือกสำหรับปีนผา (Kernmantle) เป็นเชือกลักษณะพิเศษ คือ มีความเหนียว ไม่ยืดง่าย สามารถรับแรงดึงได้ถึง 2 ตัน เชือกเส้นหนึ่งประกอบด้วยเชือกเส้นเล็ก 2 เส้นควั่นกันอยู่ชั้นในสุดและพันด้วยไนลอน ความยาวมาตรฐานของเชือกคือ 45 เมตร 50 เมตร และ 60 เมตร

การฝึกปีนผาเบื้องต้น
ตัวอย่างหนึ่งของการฝึกปีนหน้าผา ของชมรมปีนหน้าผากรุงเทพฯ ซึ่งเปิดเป็นโรงเรียนสอนปีนหน้าผา ทำการฝึกโดย เริ่มจากการเรียนรู้ถึงอุปกรณ์ การใช้ ระบบการทำงานและเทคนิคในการปีน

ในการฝึกขั้นต้นหลังจากการแนะนำอุปกรณ์แล้ว จะเป็นการฝึกการปีนแบบ Bouldering ซึ่งเป็นการปีนโดยใช้เพียง รองเท้าและผงแมกนีเซียม คาร์บอเนตกันลื่นเท่านั้น ในการฝึกปีนหน้าผานั้น มีหลักอยู่ว่าการปีนหน้าผาที่ดี คือต้องเคลื่อน ไหวโดยให้ร่างกายอยู่ในลักษณะสมดุลกัน ลักษณะการปีนของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ผู้ปีนจะต้องสังเกตว่าการเคลื่อน ไหวแบบไหนที่ตนเองถนัดและสามารถเคลื่อนต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียแรงมากเกินไป การปีนต้องอาศัยความมั่นคงของมือ และเท้าในการเกาะและเหยียบ
หลังจากการฝึก Bouldering ก็เป็นการฝึกผูกเงื่อนเชือกปีนผา (Kernmanle) ซึ่งมีความเหนียวแข็งแรง สามารถ รับแรงดึงได้ถึง 2 ตัน บิดให้เป็นห่วง หมุนเกลียว 2 ครั้ง ใช้ปลายเชือกด้านหนึ่งสอดเข้าไปในห่วง แล้วย้อนกลับมาพันขึ้น พันลงตามแนวเดิมของเชือก ซึ่งเป็นการผูกแบบเงื่อนเลขแปด การผูกเชือกนี้สำคัญมากสำหรับนักปีนผา เพราะจะใช้ผูกกับ ห่วงฮาร์เนสเพื่อดึงตัวนักปีนผาไว้กรณีที่ตกลงมา

การปีนผาเบื้องต้นมักจะเริ่มจากการปีนแบบ Top Roping คือมีผู้ปีนนำ (Leader) นำเชือกขึ้นไปสอดผ่าน แองเคอร์ (Anchor) ซึ่งอยู่ตรงจุดปลายทางของการปีน ดึงเชือกลงมายังพื้นให้ปลายด้านหนึ่งยาวพอที่ผู้ปีนสามารถ ผูกเงื่อนเลขแปดไว้กับฮาร์เนสของตัวเอง ส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึ่งนั้น บีเลเยอร์จะร้อยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า บีเลย์ (Belay Device) แล้วคล้องอุปกรณ์บีเลย์ไว้กับห่วงฮาร์เนสของตัวเอง

อุปกรณ์บีเลยมีอยู่หลายแบบ ทั้งบีเลย์ เพลต (Belay Plate) รูปร่างแบน มีรู 2 รู คล้ายกระดุมอะลูมิเนียมเม็ดใหญ่ ฟิกเกอร์ ออฟ เอท (Figure of Eight) เป็นอะลูมิเนียมรูปร่างลักษณะคล้ายเลขแปดอาระบิก ห่วงบนและห่วงล่างมีขนาด ไม่เท่ากัน อุปกรณ์อีกตัวคือ ATC ลักษณะคล้ายตะกร้าใบเล็ก เป็นชนิดหนึ่งของบีเลย์ บางครั้งอาจจะใช้กรีกรี (Grigri) ซึ่งมีคันโยกสำหรับผ่อนเชือกและมีตัวล็อกอัตโนมัติช่วยผ่อนแรงได้ด้วย

สำหรับการฝึกเบื้องต้นของชมรมปีนเขา จะใช้เวลาในการฝึกที่ชมรมเป็นเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ จึงจะมีการเดินทางไป ยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม
นักท่องเที่ยวและผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูล และรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากชมรม และบริษัทนำเที่ยวที่จัดกิจกรรม ปีนหน้าผา และการโรยตัวจากหน้าผาได้ หรือสามารถหาอ่านข้อมูลได้จาก “คู่มือแนะนำเส้นทางปีหน้าผาในเมืองไทย” โดยสมพร สืบเหตุ

ที่มา กระปุก.คอม  

แสนดีเจริญรุ่งเรือง


2010-07-27 00:36:15 183.89.110.***
stat : 690 posts , 0 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.