ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 52.15.59.163 : 26-04-24 20:26:11   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> ประเพณีบวชนาคช้าง

หัวข้อ : ประเพณีบวชนาคช้าง  
 
ประเพณีบวชนาคช้าง

ประเพณีบวชนาคช้าง กำหนดการวันที่ 26 - 28 เมษายน 2553 ณ ศูนย์คชศึกษา หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

ประเพณีงานบวชประจำปีที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูมจังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่สำหรับจังหวัดสุรินทร์หรือประเทศไทยเท่านั้น แต่สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกเลยก็ว่าได้

ช่วงวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ชาวหมู่บ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีบุตรชายอายุครบบวช ต่างพร้อมใจกันกันจัดงานบวชขึ้น โดยแต่ละบ้านที่จัดงานบวชก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญนาค และจัดงานเลี้ยงคล้าย ๆ กับงานบวชโดยทั่ว ๆ ไป...

การบายศรีสู่ขวัญนาคของชาวกูยนั้น นิยมทำเป็นคู่เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยจะจัดขึ้นในขึ้น 13 ค่ำ ครั้นพอถึงวันขึ้น 14 ค่ำ ซึ่งถือเป็นวันแห่นาค ทุกบ้านก็จะให้นาคขึ้นช้างและแห่มารวมกันที่วัดบ้านตากลาง ก่อนที่ทั้งหมดจะเคลื่อน ขบวนแห่ไปที่ลำน้ำมูล บริเวณที่เรียกว่า ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ หรือเรียกในภาษา กูยว่า หญ่าจู๊ เพื่อไปทำพิธีขอขมาและบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกูยว่า เคารพนับถือ นอกจากศาลเจ้าพ่อที่บริเวณวังทะลุแล้ว ยังมีอีก 2 แห่ง คือที่ ท้ายหมู่บ้านและท้ายวัด

ในการแห่ขบวนทั้งหมดไปยังบริเวณลำน้ำมูล คงจะคล้าย ๆ กับประเพณีบวชนาคที่หาดเสี้ยวของจังหวัดสุโขทัย และประเพณีบวชนาคของหมู่บ้านช้าง บ้านตากลางนี้ ก็มีช้างเข้าร่วมขบวนนับร้อยเชือก ซึ่งนับได้ว่าเป็นขบวนแห่นาคที่ยิ่งใหญ่และหาดูได้ยากยิ่งในทุกวันนี้

ช้างแต่ละเชือกที่เข้าร่วมขบวนแห่นั้น เจ้าของหรือควาญก็ได้แต่งองค์ทรงเครื่องไม่แพ้กับนาคที่นั่งอยู่บนเจ้าตัว เท่าใดนัก บางเชือกก็มีการเขียนคำเท่ ๆ ไว้ตามตัว ให้ผู้คนได้อ่านกันคลายเครียดด้วยงานนี้ทั้งนาคทั้งช้างต่างก็ไม่ยอมแพ้กัน ในเรื่องความงาม เมื่อขบวนแห่มาถึงบริเวณวังทะลุแล้ว ก็จะมีการเซ่นผีปู่ตาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามธรรมเนียมของชาวกูยโดยทั่วไป การเซ่นปู่ตานั้นจะเป็นในลักษณะของการเสี่ยงทายด้วย โดยการดึงคางไก่ที่ใช้ในพิธีออกมาดู ซึ่งเป็นความเชื่อเช่นเดียวกับการเสี่ยงทายคางไก่ก่อนออกไปคล้องช้าง

การเสี่ยงทายคางไก่ก่อนการบวชนี้ เพื่อทำนายดูว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการบวชหรือไม่ สำหรับกระดูกคางไก่ที่ใช้เสี่ยงทายนั้น จะมีลักษณะเป็น 3 ง่าม และดูจากส่วนตรงกลางของกระดูกถ้ามีลักษณะปลายตรงก็จะบวชได้นานแต่ถ้าเอียง ไปด้านใดด้านหนึ่งก็จะบวชได้ไม่นาน และถ้าปลายนั้นงองุ้มเข้าหาคอ แสดงว่าจะมีอุปสรรคทำให้ไม่สามารถบวชได้ เมื่อพิธีทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะมีพิธีอุปสมบทในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี

ที่มา กระปุก.คอม  

แสนดีเจริญรุ่งเรือง


2010-04-22 09:12:12 124.121.174.*
stat : 690 posts , 0 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.