ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 18.223.171.12 : 20-04-24 8:46:16   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
บริษัท วีไอพีแอร์ จำกัด ให้บริการ ล้างแอร์ ซ่อมแอร์ ติดตั้งแอร์ โดย

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!

พาเลทให้เช่า เรื่องน่ารู้  

พาเลทให้เช่า เรื่องน่ารู้
 
การค้าขาย ยุคจอห์น,ไมเคิล และโรเบิร์ต..ทิงนองน่อย (อันนี้ไม่รู้ว่าใครมาต่อคำท้าย) หรือยุคอาเตี่ย อาหม่า อากง ทั้งหลายที่เข้ามาทำการค้าในเมืองไทย คือ การสั่งสินค้านำเข้ามาขาย เขาเรียกกันว่า เทรดดิ้ง คอมปะนี (Trading Company) 
          แต่การนำ Pallet เข้ามาใช้วางสินค้าในเมืองไทยในยุคแรก ก็จะเป็นกลุ่มบริษัทต่างชาติแถบยุโรปจากอังกฤษ เยอรมัน อิตาลี สวิสฯ ใช้การคมนาคมทางน้ำนำสินค้าขึ้นมาทางเรือ เหมือนที่เราเคยกันได้ยินกันว่า “เฮ้ย! สินค้าข้ามน้ำ ข้ามทะเลมา
เลยนะโว้ย”
          จนกระทั่งมาถึงยุคอเมริกัน -ซามูไรรุ่งเรืองใน เมืองไทย มีการนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายมากมาย ทั้งเป็น ตัวแทน และเอเยนซี่ เราก็เริ่มเห็นการใช้ Pallet มากขึ้น ทั้งของเล่น ของกิน ของใช้ ปะยี่ห้อ Made in U.S.A. และ Made in  Japan (ยุคแบ๊งค์กาโม่-ไอ้มดแดง) ก็วางบน Pallet ทั้งสิ้น
          ดั่งวลีลอยลมที่คู่กันมา “ที่ไหนมีการค้า ที่นั่นมีชาวจีน” และ “ที่ไหนมีชาวจีน ที่นั่นมีฮากกา” คนไทยเชื้อสายจีนเป็นผู้ริเริ่มทำ พาเลทไม้ในเมืองไทย ที่สามารถขึ้นเป็นรูปแบบตามที่ลูกค้าปรารถนา ไม่ว่าจะกว้าง จะยาว เท่าไหร่? ทั้งขาย ทั้งให้เช่า จึงเป็นที่มาของ “พาเลทให้เช่า” ในเมืองไทยยุคบุกเบิก

  ณ ปัจจุบันเมืองไทย ถือว่าเป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จากปัจจัยเกื้อหนุนของภาครัฐ และเอกชน ทั้งด้านค่าจ้าง และแรงงาน รวมถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เหมาะสม ทำให้บริษัทข้ามชาติต่าง ๆ เข้ามาลงทุนในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งผลิต จัดจำหน่าย ซื้อหาวัตถุดิบ ต่อยอดวัสดุ ดัดแปลง ฯลฯ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมสนับสนุนต่อเนื่องจากกลุ่ม SME  ทั้งทางตรง และทางอ้อม จึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
           กลไกการค้าระหว่างประเทศ ในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) นโยบายการเปิดเสรีทางการค้า  Free Trade Area : FTA  ทำให้การค้าในยุคโลกไร้พรมแดนสร้างความเปลี่ยนแปลงในเรื่อง “ต้นทุน” และ “คุณภาพ” ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะต้องสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้ทั้งหมด ทั้งในแง่ของ เวลา สถานที่ ปริมาณ คุณภาพ และราคา เพราะความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ส่งผลบริษัท ห้างฯร้าน และองค์กรต่าง ๆ จึงหันมาสนใจหลักการโลจิสติกส์ (Logistics) และห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนให้ต่ำลง ทั้งยังสร้างความสัมพันธ์
อันดีกับลูกค้า และแข่งขันกับนานอารยประเทศได้

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
คือ การเชื่อมต่อหน่วย แต่ละหน่วย หรือจุดต่อจุดต่างๆ ในการผลิตสินค้า และบริการ ที่เริ่มต้นจากวัตถุดิบไปยังจุดสุดท้าย คือ ผู้บริโภค (Consumer) ซึ่งสายของห่วงโซ่อุปทานมีดังนี้
           - ผู้ส่งมอบ (Supplier) เป็น ผู้ที่จัดส่งวัตถุดิบให้กับผู้ผลิต หรือโรงงานผู้ผลิต
           - โรงงานผู้ผลิต (Manufacturers) เป็น ผู้มีหน้าที่แปรสภาพวัตถุดิบที่ได้รับจากผู้ส่งมอบ
           - ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Centers) เป็น จุดต่อที่ทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าให้ถึงมือ ช่องทางการจัดจำหน่าย
           - ช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel) คือ จุดปลายสุดของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นจุดที่สินค้า และบริกา ไปถึงผู้บริโภค (Consumer) จะต้องถูกใช้จนหมดมูลค่า โดยไม่มีการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า และบริการนั้น ๆ

โลจิสติกส์ (Logistics)
คือ กระบวนการดำเนินงาน เพื่อควบคุมประสิทธิภาพ ตั้งแต่การส่งมอบสินค้า และบริการ ซึ่งครอบคลุมถึงการจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า การบริหารต้นทุน การขนส่ง ณ จุดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำสุด ผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel) ถึงผู้บริโภค (Consumer) เร็วที่สุด ถูกจังหวะ และใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อให้การผลิตสินค้า และบริการ มีคุณภาพตามความพึงพอใจของผู้บริโภค
 ..เห็น ว่าสินค้า และบริการต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาท้องตลาด จะต้องผ่านการเชื่อมต่อหน่วย แต่ละหน่วย หรือจุดต่อจุดต่าง ๆ ทุกจุด ตลอดทั้งสายของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และโลจิสติกส์ (Logistics) ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่ง ตั้งแต่การผลิต และการส่งมอบ ถึงผู้บริโภค (Consumer) คนสุดท้าย ทั้ง 2 หลักการนี้ ก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ คำนึงถึงความพอใจของลูกค้า และบริหารต้นทุนให้ต่ำสุดเป็นหลัก
          ด้วยกระแสโลกาภิวัฒน์  มีการเคลื่อนย้ายสินค้า-สิ่งของ การค้า การเงิน การลงทุน เทคโนโลยีไปทั่วโลก ทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขึ้นมากมาย พาเลทพลาสติกให้เช่า Pallet For Rent ก็คือ ปัจจัยสำคัญหนึ่ง ในสายของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)...ยกโลกทั้งใบไว้ในมือคุณ

      สภาวะการค้าเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันต้องปรับตัวภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรี ยุคโลกไร้พรมแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับประสิทธิภาพการบริหารจัดการ อย่างไรก็ดีการสร้างความร่วมมือ (Cluster) ระหว่างธุรกิจ ให้เกิดเครือข่ายการเชื่อมโยงซึ่งการและกันเป็น (Network)
     กลุ่มบริษัท PM จึงได้พัฒนาระบบการใช้งาน Pallet ให้สามารถนำมาใช้หมุนเวียนได้ร่วมกัน (Co-rotating pallet) เพื่อลดขั้นตอนการบริหารจัดการคลังสินค้า และกระจายสินค้า ในขณะเคลื่อนที่-เคลื่อนย้ายวัตถุดิบ-สินค้าสำเร็จรูป ผ่านทางห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และโลจิสติกส์ (Logistics)

ภาระกิจหลักของเรา:
     บริษัทฯ จึงได้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น พร้อมให้บริการใช้ พาเลทพลาสติกให้เช่า (Pallet For Rent) ในการเคลื่อนย้ายสินค้าไป ณ จุดต่อจุดทั่วประเทศ รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (South East Asia)
     Co-rotating pallet คือ ระบบการใช้งาน Pallet ร่วมกัน ซึ่งทำให้สามารถขนถ่ายสินค้าถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้ายได้อย่างรวดเร็ว จากบริษัทหนึ่งไปอีกบริษัทหนึ่ง หรือระหว่างคู่ค้ากับคู่ค้า โดยสามารถใช้งานร่วมกัน และยังได้ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยขบวนการรีไซเคิล (Recycle) จากวัตถุดิบที่นำมาผลิต และลดจำนวนการใช้ไม้ (wood) รักษาหน้าดิน เพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และธัญญาหารทางเกษตรกรรม สร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product) มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในภูมิภาค

   
   
 


Article write by : PlasticMall Visit website
Visit website
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.